มะลิ

เชื่อกันว่าเป็นไม้มงคลที่สูงค่าจึงนิยมใช้บูชาพระ สีขาวอันบริสุทธิ์ และกลิ่นหอมเย็น ไม่ว่าจะเป็นมะละซ้อนหรือมะลิลา ก็เป็นสิริมงคล ทางด้านทำให้คนในบ้าน มีความบริสุทธิ์ มีความรักและความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไป ชนิดของมะลิที่นิยมปลูกเป็นไม้มงคล มะลิซ้อน (Grand Duke of Tuscany) มะลิวัลย์ (Angel-hair jasmine) มะลิฉัตร (Arabian jasmine) มะลิพวง (Angelwing jasmine) พุทธชาติ (Star jasmine)
ต้นมะลิ มะลิเป็นพรรณไม้ยืนต้น และเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางบางชนิด ก็มีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดียวแตกใบเรียงกัน เป็นคู่ ๆ ตามก้าน และกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือตามง่ามใบ ดอกเล็กสีขาวมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลม หรือซ้อนกัน เป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่ประ มาณ 2-3 เซนติเมตร ผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุก จะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด นอกจากนี้ ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่าง กันไปตามชนิดพันธุ์
การปลูก
มะลิต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง ชอบดินร่วนซุย มีความชุ่มชื้นปานกลาง ระบายน้ำได้ดี ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 5-6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 200-300 กรัม / ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง
การขยายพันธุ์
การขยายพันธ์ การปักชำ การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การแยกกอ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ การตอน
โรคและแมลง
- โรครากเน่า เกิดจากเชื้อรา เป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่งซึ่งจะเกิดกับมะลิที่มีอายุมากกว่า 1 ปี อาการ มะลิจะเหลือง เหี่ยว และทิ้งใบ
- โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา อาการ จะพบจุดสีน้ำตาลอ่อน บนใบขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแก่เห็นเด่นชัด แผลจะขยายลุกลามออกไป มีลักษณะเป็นวงซ้อนกัน
- โรครากปม เกิดจากไส้เดือนฝอย การเกิดโรคนี้จะพบได้เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น ต้นที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการเด่นชัดทางใบคือใบจะมีสีเหลืองด่าง ๆ ทั่วไปทั้งใบคล้ายกับการแสดงอาการขาดธาตุอาหารเนื่องจากไส้เดือนฝอยจะไปอุดท่อน้ำท่ออาหารไว้เมื่อถอนต้นดูจะพบว่าที่รากมีปมเล็ก ๆ อยู่ทั่ว ๆ ไป ถ้าเฉือนปมนี้ดูจะพบถุงสีขาวเล็ก ๆ ขนาดเมล็ดผักกาดฝังอยู่ การป้องกันกำจัด ปลูกมะลิสลับกับพืชอื่น และใส่ปุ๋ยอินทรีย์มากขึ้น และใช้สารเคมีป้องกันกำจัด เช่น ฟูราดาน ไวเดท
- หนอนเจาะดอก ลักษณะลำตัวสีเขียวขนาดเล็ก ปากหรือหัวดำ ระบาดมากในฤดูฝน โดยการ กัดกินดอกทำให้ดอกผิดรูปร่างไป เป็นแผล เป็นรู การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด เช่น แลนเนต โบลสตาร์ ฉีดพ่น
- หนอนกินใบ จะระบาดมากในฤดูฝน โดยจะพับใบมะลิเข้าด้วยกัน แล้วซ่อนตัวอยู่ในนั้น และจะกัดกินทำลายใบไปด้วย การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี ประเภทโมโนโครโตฟอส เช่น อโซดริน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 4-6 วัน เมื่อมีการระบาด
- หนอนเจาะลำต้น จะทำลายโดยการเจาะลำต้น ทำให้ต้นแห้งตาย อาการเริ่มแรกต้นจะมีใบเหลือง และหลุดร่วง ตรงบริเวณโคนต้น จะมีขุยไม้ที่เกิดจาก การกัดกินของตัวหนอนกองอยู่เห็นได้ชัดเจน การป้องกันกำจัด ถ้าพบต้องรีบทำลายโดยทันที โดยการถอนต้นมะลิและทำลายตัวหนอนเสีย
- เพลี้ยไฟ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก ทำให้ส่วนที่ถูกทำลาย หงิกงอ แคระแกรน เสียรูปทรง การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีฉีดพ่น เช่น พอสซ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น