ต้นไผ่
คนไทยที่เชื่อกันว่า หากปลูกต้นไผ่ไว้ในบริเวณบ้าน จะทำให้สมาชิกในบ้านตั้งใจทำงาน ประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม ไม่คดโกงเอารัดเอาเปรียบใคร
การปลูกไผ่ก็มีวิธีดำเนินการเช่นเดียวกันกับการปลูกพันธุ์ไม้ชนิดอื่นทุกประการ ไผ่จะขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทรายมีการระบายนํ้าค่อนข้างดี ดินเป็นกรด ซึ่งต้องคำนึงถึงหลักใหญ่ ๆ ดังนี้
1. พันธุ์ที่เหมาะสม ควรจะได้ทำการคัดเลือกชนิดพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้นมาปลูกโดยคำนึงถึง
1.1 อุณหภูมิและดินฟ้าอากาศ : เป็นต้นว่าพื้นที่ ที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยต่อปีต่ำกว่า 1,000 มม. ก็ไม่ควรจะเลือกพันธุ์ที่ต้องการความชุ่มชื้นมาก เช่น ไผ่ผาก ไผ่ป่า มาปลูก ควรจะได้ทำการปลูกไผ่รวก (หรือพันธุ์อื่น ที่ทนความแห้งแล้งได้ดีกว่า) แทน เป็นต้น
1.2 ดิน ด้านลาด และทิศทาง : ซึ่งอาจจะต้องแยกคำนึงถึง
ดิน : ถ้าเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ มีการระบายนํ้าดี ก็ควรจะคัดเลือกพันธุ์ไผ่ที่มีลำขนาดใหญ่ เช่น ไผ่สีสุก ไผ่ตง หรือไผ่บง ไผ่ป่ามาปลูก ไม่ควจะนำพันธุ์ที่สามารถทนความแห้งแล้งมาปลูก เพราะจะทำให้ผลที่ได้ไม่คุ้มค่า เท่าที่ควร แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความต้องการในแง่เศรษฐกิจเป็นหลักประกอบด้วย
ด้านลาดของดิน ทิศทางของพื้นที่ :- แม้ว่าไม้ไผ่จะเจริญเติบโตได้ดีตามที่ลาดชันก็ตาม แต่ทั้งนี้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับปริมาณของแสงแดดที่มันต้องการอีกด้วย ส่วนใหญ่แล้ว ไม่ไผ่เจริญเติบโตได้ดีทางด้านลาดทิศเหนือ เช่น ไผ่ซางนวล ไผ่หก ไผ่เฮียะ ไผ่ข้าวหลาม เป็นต้น
1.3 ชนิดพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ จะสังเกตได้ว่าชนิดพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ ตั้งแต่พวกหญ้าจนกระทั่งไม้พุ่มและไม่ยืนต้น จะมีบทบาทอันสำคัญคือ จะเป็นตัวชี้ให้เราทราบว่าดินดี หรือเลวเพียงใด ทั้งนี้เพื่อจะช่วยทำให้การคัดเลือกชนิดพันธุ์ ที่เหมาะสมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น กับทั้งเป็นการประหยัดเวลาได้มากขึ้นด้วย เช่น ในพื้นที่ที่มีไม้ชั้นล่างเป็นพวกหนามเล็บเหยี่ยว ก็ไม่ควรจะนำไผ่ป่าซึ่งต้องการความชุ่มชื้นสูงไปปลูก ควรจะทำการปลูกไผ่ชนิดอื่นที่สามารถทนแล้งได้ ดีกว่าก็จะทำให้สามารถประหยัดเวลาและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามาก
2. วิธีการขยายพันธุ์หรือวิธีปลูก
สำหรับพวกที่ขึ้นเป็นกอนั้น สามารถทำการขยายพันธ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัย ได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ
2.1 ใช้เมล็ดในการขยายพันธ์ :- ไผ่ส่วนใหญ่ ในประเทศไทยจะมีการออกดอกราว ๆ เดือนพฤศจิกายน- เดือนกุมภาพันธ์ และเมล็ดเริ่มแก่และร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน ในแดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายนของทุกๆปี ในการเก็บหาเมล็ดไผ่นั้น เราไม่สามารถจะทำการคัดเลือกแม่ไม้หรือหมายแม่ไม้เพื่อทำการเก็บเมล็ดได้เช่นเดียวกับพันธุ์ไม้ชนิดอื่น ๆ เพราะส่วนใหญ่กอไผ่ที่ขึ้นอยู่ในดินอุดมสมบูรณ์ ย่อมจะออกดอกและให้เมล็ดล่าช้ากว่ากอที่ขึ้นอยู่ในที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ซึ่งเป็นไปตามหลักของทางด้านพันธุศาสตร์และสรีระวิทยา เพราะฉะนั้นเราจึงไม่อาจจะเลือกเก็บเมล็ดได้ เช่นเดียวกับพันธุ์ไม้ชนิดอื่นดังกล่าวแล้ว ในระยะที่เมล็ดไผ่กอใดเริ่มแก่ ก็ดำเนินการกวาดเก็บเศษไม้ ใบไม้รอบบริเวณ ใต้โคนกอออกให้หมด เพื่อสะดวกในการกวาดเก็บเมล็ดไผ่ หลังจากร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน ปกติแล้วไม่นิยมเก็บเมล็ดไผ่ ที่แก่ติดกับกิ่ง เพราะส่วนใหญ่เมล็ดในตอนนี้ยังไม่แก่เต็มที่ เมื่อนำไปเพาะแล้วอาจจะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกน้อยมาก หรือแทบจะไม่งอกเลยก็ได้ จึงทำให้เสียเวลาและเปลืองค่าใช้จ่ายมาก หลังจากเมล็ดร่วงหล่นลงสู่พื้นดินแล้ว ก็ทำการกวาดเก็บเมล็ดทั้งหมดใส่ภาชนะเช่น กระสอบป่าน กระสอบผ้า หรือภาชนะอื่นใดก็ได้ ใช้กระด้งสำหรับฝัดข้าวฝัดร่อนเอาเปลือกออกเมล็ดลีบออกเสียให้หมด คงเหลือแต่เฉพาะเมล็ดดีเท่านั้น จึงนำไปเก็บไว้ในภาชนะ เช่น ขวดโหล หรือภาชนะสำหรับเก็บเมล็ดโดยเฉพาะ ถ้ามีตู้เก็บก็ควรเก็บรักษาเมล็ดไผ่ดังกล่าวไว้ในตู้เย็นโดยปรับอุณหภูมิให้คงที่สมํ่าเสมอ ปกติใช้อุณหภูมิประมาณ 12 องศาเซลเซียสเป็นอย่างตํ่า ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เมล็ดเสียและฝ่อเร็ว อาจจะเก็บเมล็ดไว้ ถึง 1 ปีก็ได้ ถ้าหากมีตู้เย็นสำหรับเก็บเมล็ดใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น